เมนู

พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
29. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
30. ความดับแห่งฉันทะด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
31. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความน้อมใจเชื่อ เป็นความดับแห่ง
สัทธินทรีย์
32. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจการประคองไว้ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
33. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความตั้งมั่น เป็นความดับแห่ง
สตินทรีย์
34. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความไม่ฟุ้งซ่าน เป็นความดับแห่ง
สมาธินทรีย์
35. ความดับแห่งมนสิการด้วยอำนาจความเห็น เป็นความดับแห่ง
ปัญญินทรีย์
36. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสัทธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสัทธินทรีย์
37. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจวิริยินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งวิริยินทรีย์
38. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสตินทรีย์ เป็นความดับ
แห่งสตินทรีย์
39. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจสมาธินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งสมาธินทรีย์
40. ความไม่ปรากฏเป็นสภาวะเดียวด้วยอำนาจปัญญินทรีย์ เป็นความ
ดับแห่งปัญญินทรีย์
อินทรีย์ 5 มีความดับด้วยอาการ 40 อย่างนี้ บุคคลรู้ชัดความดับแห่ง
อินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 40 อย่างนี้

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :300 }


พระสุตตันตปิฎก ขุททกนิกาย ปฏิสัมภิทามรรค [1. มหาวรรค] 4. อินทริยกถา 2. ทุติยสุตตันตนิทเทส
ก. อัสสาทนิทเทส
แสดงคุณ (แห่งอินทรีย์ 5)
[189] อินทรีย์ 5 มีคุณ ด้วยอาการ 25 อย่าง อะไรบ้าง บุคคลรู้ชัดคุณ
แห่งอินทรีย์ 5 ด้วยอาการ 25 อย่าง อะไรบ้าง คือ
1. ความไม่ปรากฏแห่งความไม่มีศรัทธา เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
2. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่มีศรัทธา เป็นคุณ
แห่งสัทธินทรีย์
3. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความน้อมใจเชื่อ เป็นคุณแห่ง
สัทธินทรีย์
4. ความสงบ1และการบรรลุสุขวิหารธรรม2 เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
5. สุขโสมนัสที่อาศัยสัทธินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งสัทธินทรีย์
6. ความไม่ปรากฏแห่งความเกียจคร้าน เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
7. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อน เพราะความไม่เกียจคร้าน เป็น
คุณแห่งวิริยินทรีย์
8. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยการประคองไว้ เป็นคุณแห่ง
วิริยินทรีย์
9. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
10. สุขโสมนัสที่อาศัยวิริยินทรีย์เกิดขึ้น เป็นคุณแห่งวิริยินทรีย์
11. ความไม่ปรากฏแห่งความประมาท เป็นคุณแห่งสตินทรีย์
12. ความไม่ปรากฏแห่งความเร่าร้อนเพราะเหตุแห่งความประมาท เป็น
คุณแห่งสตินทรีย์
13. ความแกล้วกล้าแห่งความประพฤติด้วยความตั้งมั่น เป็นคุณแห่ง
สตินทรีย์
14. ความสงบและการบรรลุสุขวิหารธรรม เป็นคุณแห่งสตินทรีย์

เชิงอรรถ :
1 ความสงบ หมายถึงสมถะ (ขุ.ป.อ. 2/189/157)
2 สุขวิหารธรรม หมายถึงวิปัสสนา (ขุ.ป.อ. 2/189/157)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 31 หน้า :301 }